ข้อแนะนำเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อม (Dementia) ไม่ได้เป็นเพียงการสูญเสียความทรงจำหรืออาการหลงลืมเท่านั้น แต่คือความเสื่อมประสิทธิภาพของสมองที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนการใช้เหตุผลและการสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคนรอบข้างที่ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิ

จากสถิติที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นกว่า 100,000 รายต่อปี และคาดว่าตัวเลขผู้ป่วยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,177,000 คนในปี 2573 ซึ่งหมายความว่าจะมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ต้องการการช่วยเหลือดูแลจากญาติและคนในครอบครัว เพื่อให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดแม้จะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม 

บทความนี้ได้นำเสนอแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่ผู้ดูแลสามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยและรับมือกับปัญหาเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีรับมือกับการสื่อสาร

อาการสับสน หลงลืมเหตุการณ์ต่างๆ และจดจำคนรอบข้างไม่ได้ เป็นอาการผิดปกติที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกว่าตนเองบกพร่องและสูญเสียความมั่นใจในตนเอง ทำให้ไม่อยากพบปะผู้คนอื่นๆ การสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยได้

 

 

ข้อแนะนำ

■ ระหว่างบทสนทนากับผู้ป่วย ควรให้ผู้ป่วยพยายามพูดด้วยตัวเอง ไม่ควรพูดแทรก

■ ลดเสียงรบกวนให้มากที่สุด

■ สบตากับผู้ป่วยเมื่อพูดคุยกัน ให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าเรากำลังรับฟัง

■ ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักมีพฤติกรรมพูดซ้ำๆ หรือถามคำถามเดิม เพราะอาจจำไม่ได้ว่าเคยถามไปแล้ว ผู้ดูแลควรพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างใจเย็น ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล ไม่แสดงอาการหงุดหงิดรำคาญ

■ เมื่อต้องพูดคุยกับผู้ป่วย ผู้ดูแลไม่ควรอยู่ใกล้กับผู้ป่วยมากเกินไปเพราะจะทำให้ผู้ป่วยอึดอัด ควรอยู่ในระยะที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นการแสดงออกทางใบหน้าและท่าทางได้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ง่ายขึ้น

■ไม่ควรถามคำถามที่ซับซ้อนและหลีกเลี่ยงการอธิบายที่ยืดยาวเพราะจะทำให้ผู้ป่วยสับสนหรือหงุดหงิดได้  ควรเลือกใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และใช้ท่าทางประกอบ

สนใจรายละเอียดบริการเพิ่มเติม
เพิ่มเป็นเพื่อนเลย!

รับมือกับอาการหลงลืม

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมระยะแรกเริ่มและระยะกลางจะมีอาการหลงลืม จำเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ หลงลืมวัน รู้สึกสับสนซึ่งญาติและผู้ดูแลจะยังสามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถพึ่งพาตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้ จนกว่าจะถึงระยะสุดท้ายที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้

ข้อแนะนำ

■ เมื่อผู้ป่วยถามคำถามหรือพูดซ้ำๆ ผู้ดูแลไม่ควรโต้เถียง ตำหนิ หรือพยายามอธิบายด้วยเหตุผล เนื่องจากการกระทำเหล่านี้มีแต่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิดมากขึ้น

■ หากผู้ป่วยต้องรับประทานยาเป็นประจำ ควรจัดยาให้ผู้ป่วยในแต่ละวัน ไม่ควรจัดไว้หลายวันเพราะผู้ป่วยอาจลืมและรับประทานยาซ้ำได้

■ ผู้ดูแลควรใช้ปฏิทินหรือบอร์ดในการจดสิ่งสำคัญ และวางไว้ในที่ที่มองเห็นชัดเจน

■ คนรอบข้างสามารถพูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่องในอดีต เพราะจะช่วยกระตุ้นความทรงจำ ทำให้ในบางครั้งผู้ป่วยสามารถจดจำเหตุการณ์บางส่วนได้ และเมื่อผู้ป่วยสามารถจดจำเหตุการณ์ต่างๆ คนรอบข้างควรชื่นชม เพื่อให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น

■ ผู้ดูแลจะให้ผู้ป่วยพกข้อมูลติดต่อเบื้องต้นติดตัวอยู่เสมอ อาจพิมพ์ข้อมูลลงในการ์ดให้ผู้ป่วยพกตลอดเวลา หรือใช้สัญญาณติดตามตัวเพื่อให้สามารถระบุตำแหน่งและช่วยเหลือได้ทันทีเมื่อผู้ป่วยพลัดหลงออกจากบ้าน

แชร์บทความ:

บทความที่เกี่ยวข้อง

เหนื่อยกับการดูแลคนป่วยและผู้สูงอายุ? คุณกำลังมีภาวะหมดไฟในผู้ดูแล

เหนื่อยกับการดูแลผู้สูงอายุ? รู้จัก “ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล” ที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

เหนื่อยกับการดูแลผู้สูงอายุ? รู้จัก “ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล” ที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด การดูแลผู้สูงอายุในวัยบั้นปลายนั้นนับเป็นการแสดงความกตัญญูรูปแบบหนึ่ง

Read More »
รับดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน-ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน-ลลิสา-โฮมแคร์

เหตุผลที่หลายครอบครัวเลือกบริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน​

เหตุผลที่หลายครอบครัวเลือกการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน เมื่อคนที่เรารักที่เป็นผู้สูงอายุภายในบ้าน อายุสูงขึ้น การเอาใจใส่ในการดูแลพวกเขานั้นสำคัญยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าบ้านพักคนชราและสถานสงเคราะห์จะเป็นตัวเลือกหนึ่งในการดูแลผู้สูงอายุ

Read More »
บริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน และวิธีเลือกบริการที่เหมาะสมเพื่อคนที่คุณรัก

บริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน และวิธีเลือกบริการที่เหมาะสมเพื่อคนที่คุณรัก

บริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน และวิธีเลือกบริการที่เหมาะสมเพื่อคนที่คุณรัก บริการดูแลตามบ้าน คืออะไร บริการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่บ้าน

Read More »