เหนื่อยกับการดูแลผู้สูงอายุ? รู้จัก “ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล” ที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

การดูแลผู้สูงอายุในวัยบั้นปลายนั้นนับเป็นการแสดงความกตัญญูรูปแบบหนึ่ง ที่มาพร้อมกับหน้าที่ความรับผิดชอบอันใหญ่หลวง เนื่องจากบางครั้งคนในครอบครัวก็มีข้อจำกัดในการดูแล เช่น อาจต้องทำงานประจำและดูแลบุคคลอื่นๆ ในครอบครัวไปพร้อมกัน หรือขาดรายได้ที่เพียงพอต่อการดูแลรักษาในระยะยาว การให้การดูแลผู้สูงอายุจึงอาจก่อให้เกิดความเครียดสะสม และความเหนื่อยล้าทางกาย อารมณ์ และจิตใจได้ การดูแลที่เกินกำลังของตนจะส่งผลให้เกิด ภาวะหมดไฟในการดูแล หรือที่เรียกว่า Caregiver Burnout ซึ่งผู้ดูแลจะต้องได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน

การละเลยปัญหาและความเครียดที่เกิดขึ้นจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ดูแลในระยะยาว โดยอาจทำให้หงุดหงิดง่าย รู้สึกสิ้นหวัง ต่อต้าน ซึมเศร้า จนกระทบกับคุณภาพในการดูแล และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้สูงอายุในที่สุด ดังนั้นในการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว ผู้ดูแลไม่ควรเพิกเฉยต่อสัญญาณของภาวะหมดไฟ และรับรู้ถึงสภาวะอารมณ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อการดูแลที่ดีขึ้น

ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล (Caregiver Burnout)

ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล (Caregiver Burnout) คือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ที่เหนื่อยล้าจากการให้การดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเป็นเวลานานๆ จนส่งผลกระทบกับคุณภาพและทัศนคติในการดูแล ทำให้มองการให้การดูแลจากเชิงบวกเป็นเชิงลบ ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล พบได้บ่อยเมื่อผู้ดูแลขาดแหล่งความช่วยเหลืออื่นๆ หรือต้องแบกรับหน้าที่ในการดูแลที่หนักเกินไป และพบได้ในผู้ที่มีความเครียดเรื่องฐานะทางการเงิน

ความเหนื่อยหน่ายในการดูแลมักเป็นผลมาจากความเครียดสะสม โดยทำให้ผู้ดูแลไม่มีเวลาในการดูแลตนเอง ทำให้มีอาการวิตกกังวล เหนื่อยล้า หงุดหงิดง่าย รู้สึกหมดหนทางหรือสิ้นหวัง ในบางรายอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ดูแลหลายรายก็ไม่สามารถละทิ้งภาระหน้าที่ได้ และมีความรู้สึกผิดว่าตนเองเป็นคนอกตัญญู หากไม่สามารถให้การดูแลบุคคลอันเป็นที่รัก

สัญญาณเตือนของภาวะหมดไฟในผู้ดูแล

ผู้ดูแลสามารถสังเกตความคิดและพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณเตือนของภาวะหมดไฟในผู้ดูแล ได้ดังนี้

  1. รู้สึกวิตกกังวลตลอดเวลา – ความเครียดจากการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย อาจทำให้ผู้ดูแลรู้สึกวิตกกังวลตลอดเวลาเกี่ยวกับการให้การดูแล
  2. อ่อนเพลียเรื้อรัง รู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลียตลอดเวลา และไม่รู้สึกดีขึ้น ถึงแม้จะพักผ่อนเพียงพอแล้ว
  3. นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป – ภาวะหมดไฟสามารถส่งผลให้นอนไม่หลับ หรือนำไปสู่โรคนอนไม่หลับได้ ในบางรายอาจส่งผลให้นอนหลับมากเกินไป
  4. รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากทำกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ – หมดความสนใจในงานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ ไม่อยากพบปะหรือเข้าสังคม
  5. หงุดหงิดง่าย อารมณ์ฉุนเฉียว – อารมณ์ไม่มั่นคง หงุดหงิด จนบ่อยครั้งลงที่คนรอบข้างหรือผู้สูงอายุ 
  6. เริ่มละเลยหน้าที่ความรับผิดชอบ – รู้สึกอยากละทิ้งหน้าที่ที่เคยทำเป็นประจำ และอยากจะหนีไปให้พ้นความรับผิดชอบและหน้าที่ในการดูแล
  7. รู้สึกหมดหวังกับชีวิต – ความรู้สึกหมดหวัง อยากหายไปจากโลกนี้ ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนร้ายแรง ผู้ดูแลควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

ประเทศไทยและจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น

ข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุเปิดเผยว่าในปี พ.ศ.2565 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่า 12.6 ล้านรายซึ่งคิดเป็นจำนวนกว่า 19.2% ของประชากรในประเทศ และมีแนวมโน้มเพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ 26.9 ในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีหลายครอบครัวที่ต้องให้การดูแลผู้สูงอายุ และในบางครอบครัวอาจมีผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลมากกว่า 1 คน ดังนั้นตัวเลขของผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะหมดไฟก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

สนใจรายละเอียดบริการเพิ่มเติม
เพิ่มเป็นเพื่อนเลย!

ใครมีความเสี่ยงภาวะหมดไฟในการดูแล

ผู้ดูแลที่อยู่ใกล้ชิดผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงมากที่สุด บุคคลที่ต้องหมั่นสังเกตตัวเองถึงสัญญาณเตือนของภาวะหมดไฟในการดูแล มีดังนี้

  • ผู้ดูแลผู้สูงอายุทุพพลภาพ หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรง
  • ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
  • ผู้ดูแลที่ไม่มีความพร้อมด้านการเงิน
  • บุคคลที่เป็นเสาหลักของบ้าน ที่ต้องการการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน และดูแลลูกๆ ไปพร้อมกัน 

4 แนวทางรับมือกับภาวะหมดไฟในการดูแล

แนวทางเบื้องต้นในการป้องกันและรู้เท่าทันภาวะหมดไฟในผู้ดูแลมีดังนี้

  1. ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้: ผู้ดูแลจะต้องเข้าใจและตั้งขีดจำกัดในการดูแลของตนเอง โดยอาจแบ่งภาระหน้าที่หนักๆ ออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อให้จัดการได้มากขึ้น และเปิดรับความช่วยเหลือจากญาติพี่น้องเมื่อทราบว่าหน้าที่เกินกำลังการดูแลของตน รู้ขีดจำกัดของตัวเอง ดูแลผู้ป่วยในส่วนที่สามารถทำได้ และพูดคุยกับคนในครอบครัวเพื่อแบ่งหน้าที่หรือให้ช่วยสลับวันในการดูแลผู้ป่วย จะช่วยแบ่งเบาภาระที่ต้องทำลงได้
  2. แบ่งเวลาสำหรับชีวิตส่วนตัว: ผู้ดูแลควรแบ่งเวลาส่วนตัว แยกออกจากเวลาที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ โดยอาจหาเวลาพักผ่อนไปทำกิจกรรมที่ตนเองชอบเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น พบปะเพื่อนฝูง ออกกำลังกาย ทำสวน เป็นต้น
  3. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ: ผู้ดูแลจะต้องเปิดใจยอมรับการช่วยเหลือจากบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นลูกหลาน ญาติพี่น้อง ให้มีส่วนช่วยรับผิดชอบร่วมกัน เช่น การทำอาหาร ภาระค่าใช้จ่ายในบ้าน การดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย การพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
  4. ใช้บริการดูแลที่บ้าน: บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเป็นตัวเลือกในการแบ่งเบาภาระการดูแล เพื่อให้ผู้ดูแลได้พักผ่อน ทำธุระ หรือทำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยเติมพลังได้

บ้านลลิสาโฮมแคร์ มืออาชีพในการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน

บ้านลลิสาโฮมแคร์ เป็นศูนย์จัดหาผู้ดูแลผู้สูงอายุที่น่าเชื่อถือด้วยประสบการณ์การดูแลมากกว่า 500 เคส ให้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุถึงบ้าน  ผู้ดูแลของเรามีทั้งพยาบาลวิชาชีพและผู้ดูแลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในการปรับแผนการดูแลให้ตรงกับความต้องการของครอบครัวได้ นอกจากนี้บริการดูแลผู้สูงอายุถึงบ้านยังมุ่งเน้นความสะดวก เพราะสามารถเรียกใช้บริการได้ใน 24 ชั่วโมง และเป็นผู้ดูแลที่อยู่ในพื้นที่ใกล้บ้าน และเดินทางสะดวก

เลือกบริการดูแลผู้สูงอายุที่ดีที่สุดจาก บ้านลลิสาโฮมแคร์ เราพร้อมช่วยดูแลคนที่คุณรักและแบ่งเบาหน้าที่การดูแลให้กับคุณ

สนใจรายละเอียดบริการเพิ่มเติม
เพิ่มเป็นเพื่อนเลย!

แชร์บทความ:

บทความที่เกี่ยวข้อง

เหนื่อยกับการดูแลคนป่วยและผู้สูงอายุ? คุณกำลังมีภาวะหมดไฟในผู้ดูแล

เหนื่อยกับการดูแลผู้สูงอายุ? รู้จัก “ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล” ที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

เหนื่อยกับการดูแลผู้สูงอายุ? รู้จัก “ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล” ที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด การดูแลผู้สูงอายุในวัยบั้นปลายนั้นนับเป็นการแสดงความกตัญญูรูปแบบหนึ่ง

Read More »
รับดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน-ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน-ลลิสา-โฮมแคร์

เหตุผลที่หลายครอบครัวเลือกบริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน​

เหตุผลที่หลายครอบครัวเลือกการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน เมื่อคนที่เรารักที่เป็นผู้สูงอายุภายในบ้าน อายุสูงขึ้น การเอาใจใส่ในการดูแลพวกเขานั้นสำคัญยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าบ้านพักคนชราและสถานสงเคราะห์จะเป็นตัวเลือกหนึ่งในการดูแลผู้สูงอายุ

Read More »
บริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน และวิธีเลือกบริการที่เหมาะสมเพื่อคนที่คุณรัก

บริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน และวิธีเลือกบริการที่เหมาะสมเพื่อคนที่คุณรัก

บริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน และวิธีเลือกบริการที่เหมาะสมเพื่อคนที่คุณรัก บริการดูแลตามบ้าน คืออะไร บริการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่บ้าน

Read More »