เหนื่อยกับการดูแลผู้สูงอายุ? รู้จัก “ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล” ที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

เหนื่อยกับการดูแลคนป่วยและผู้สูงอายุ? คุณกำลังมีภาวะหมดไฟในผู้ดูแล

เหนื่อยกับการดูแลผู้สูงอายุ? รู้จัก “ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล” ที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด การดูแลผู้สูงอายุในวัยบั้นปลายนั้นนับเป็นการแสดงความกตัญญูรูปแบบหนึ่ง ที่มาพร้อมกับหน้าที่ความรับผิดชอบอันใหญ่หลวง เนื่องจากบางครั้งคนในครอบครัวก็มีข้อจำกัดในการดูแล เช่น อาจต้องทำงานประจำและดูแลบุคคลอื่นๆ ในครอบครัวไปพร้อมกัน หรือขาดรายได้ที่เพียงพอต่อการดูแลรักษาในระยะยาว การให้การดูแลผู้สูงอายุจึงอาจก่อให้เกิดความเครียดสะสม และความเหนื่อยล้าทางกาย อารมณ์ และจิตใจได้ การดูแลที่เกินกำลังของตนจะส่งผลให้เกิด ภาวะหมดไฟในการดูแล หรือที่เรียกว่า Caregiver Burnout ซึ่งผู้ดูแลจะต้องได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน การละเลยปัญหาและความเครียดที่เกิดขึ้นจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ดูแลในระยะยาว โดยอาจทำให้หงุดหงิดง่าย รู้สึกสิ้นหวัง ต่อต้าน ซึมเศร้า จนกระทบกับคุณภาพในการดูแล และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้สูงอายุในที่สุด ดังนั้นในการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว ผู้ดูแลไม่ควรเพิกเฉยต่อสัญญาณของภาวะหมดไฟ และรับรู้ถึงสภาวะอารมณ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อการดูแลที่ดีขึ้น ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล (Caregiver Burnout) ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล (Caregiver Burnout) คือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ที่เหนื่อยล้าจากการให้การดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเป็นเวลานานๆ จนส่งผลกระทบกับคุณภาพและทัศนคติในการดูแล ทำให้มองการให้การดูแลจากเชิงบวกเป็นเชิงลบ ภาวะหมดไฟในผู้ดูแล พบได้บ่อยเมื่อผู้ดูแลขาดแหล่งความช่วยเหลืออื่นๆ หรือต้องแบกรับหน้าที่ในการดูแลที่หนักเกินไป และพบได้ในผู้ที่มีความเครียดเรื่องฐานะทางการเงิน ความเหนื่อยหน่ายในการดูแลมักเป็นผลมาจากความเครียดสะสม โดยทำให้ผู้ดูแลไม่มีเวลาในการดูแลตนเอง ทำให้มีอาการวิตกกังวล เหนื่อยล้า หงุดหงิดง่าย รู้สึกหมดหนทางหรือสิ้นหวัง ในบางรายอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ดูแลหลายรายก็ไม่สามารถละทิ้งภาระหน้าที่ได้ […]

เหตุผลที่หลายครอบครัวเลือกบริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน​

เหตุผลที่หลายครอบครัวเลือกการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน เมื่อคนที่เรารักที่เป็นผู้สูงอายุภายในบ้าน อายุสูงขึ้น การเอาใจใส่ในการดูแลพวกเขานั้นสำคัญยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าบ้านพักคนชราและสถานสงเคราะห์จะเป็นตัวเลือกหนึ่งในการดูแลผู้สูงอายุ แต่ในขณะเดียวกันอีกทางเลือกหนึ่งคือการดูแลที่บ้านก็กำลังเป็นที่นิยมสำหรับครอบครัวของผู้สูงอายุ เพราะการที่บริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้านนั้น สามารถ พยาบาลสามารถเอาใจใส่ตามความต้องการของแต่ละบุคคล และยังให้ความยืดหยุ่นเรื่องของวันและเวลา และความสะดวกสบายในราคาที่เข้าถึงได้ ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปดูว่า เหตุผลหลักที่ทำไมหลายคนเลือกใช้บริการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามบ้านสำหรับคนที่รัก และวิธีและเกณฑ์การตัดสินใจในการเลือกผู้ดูแลหรือพยาบาลดูแลตามบ้าน ไม่ว่าคุณจะต้องการการดูแลชั่วคราวหรือระยะยาว บทความนี้มีคำตอบสำหรับคุณ ประโยชน์ของการบริการดูแลผู้สูงอายุตาม 1. การดูแลที่บ้านให้การดูแลแบบเข้าถึงและใกล้ชิดมากกว่า เหตุผลหลักที่ทำให้หลายคนเลือกใช้บริการดูแลตามบ้านสำหรับการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยของตัวเองคือ การได้รับความเอาใจใส่และความสะดวกสบาย คนที่คุณรักจะได้รับการดูแลแบบตัวต่อตัวจากผู้ดูแลที่มีความชำนาญและได้รับการฝึกอย่างเป็นมืออาชีพ ที่ให้บริการและการดูแลตรงตามความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคล ในขณะที่ในบ้านพักคนชราหรือสถานสงเคราะห์ ผู้อยู่อาศัยอาจต้องแชร์ผู้ดูแลกับคนอื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้อาจทำให้เกิดความรู้สึกถูกเพิกเฉย ความเหงา และการได้รับการดูแลที่ไม่เท่ากัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้ ในทางตรงกันข้าม การดูแลที่บ้านทำให้คนที่คุณรักสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้ดูแลได้ พร้อมทั้ง ผู้ดูแลสามารถเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความชอบและความต้องการของคนที่คุณรักและมากกว่านั้นคือ กิจกรรมประจำวันของคนที่คุณรักจะถูกปรับให้เหมาะสมกับความสนใจและความสามารถเฉพาะของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือในการแต่งตัวหรือการจัดการยา พยาบาลดูแลตามบ้านจะดูแลอย่างใกล้ชิดกับผู้สูงอายุเพื่อให้แน่ใจว่าความต้องการทั้งหมดของผู้สูงอายุได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม ดังนั้นการดูแลตามบ้านนั้น อาจต่างจากตัวเลือกอื่น ๆ เช่น บ้านพักคนชรา ในด้านการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ รวมถึง การดูแลที่บ้านไม่เพียงให้ความช่วยเหลือทางร่างกายแก่ผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนทางอารมณ์และความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งเป็นสิ้งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ ที่ต้องได้รับการเอาใจใส่ด้านนี้ สรุปแล้วการดูแลที่บ้านเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับครอบครัวที่ต้องการให้คนรักของตัวเองรับการดูแลแบบเข้าถึง เป็นส่วนตัวและเอาใจใส่ การเลือกบริการพยาบาลดูตามบ้านจะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ดูแล ทำให้ผู้สูงอายุได้รับความสุขและสะดวกสบาย ในเวลาเดียวกัน คุณยังสามารถมั่นใจได้ว่าความต้องการทั้งหมดของคนรักของคุณได้รับการดูแลเป็นอย่างดี 2. […]

บริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน และวิธีเลือกบริการที่เหมาะสมเพื่อคนที่คุณรัก

บริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน และวิธีเลือกบริการที่เหมาะสมเพื่อคนที่คุณรัก

บริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน และวิธีเลือกบริการที่เหมาะสมเพื่อคนที่คุณรัก บริการดูแลตามบ้าน คืออะไร บริการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่บ้าน เป็นบริการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิดถึงที่อยู่อาศัยของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันอย่างปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย โดยจะมีบริการดูแลหลากหลายรูปแบบ เช่น การดูแลเรื่องการรับประทานอาหารและการขับถ่าย การเฝ้าระวังผู้ป่วยพักฟื้น กายภาพบำบัด เป็นต้น ผู้ที่ให้การดูแลจะเป็นผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ได้แก่ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล นักกายภาพบำบัด ครอบครัวสามารถเลือกใช้บริการแบบโปรแกรมระยะสั้นหรือระยาวก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย ประโยชน์ของบริการดูแลตามบ้าน บริการดูแลตามบ้าน มีประโยชน์หลายข้อด้วยกัน ดังนี้ สะดวก เพราะให้บริการถึงที่: บริการดูแลที่บ้านจะช่วยให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยได้รับการดูแลจากมืออาชีพในบ้านของตนเองโดยไม่ต้องเดินทางออกไปไหน การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยจะทำให้รู้สึกสบายใจ และไม่ต้องเฟชิญกับความเครียดที่เกิดขึ้นหากมีการย้ายสถานที่ดูแล โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ และผู้ป่วยติดเตียง การดูแลที่ออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล: พยาบาลหรือผู้ดูแลจะร่วมออกแบบโปรแกรมการดูแลร่วมกับครอบครัว เพื่อรักษาอาการและให้การดูแลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลอย่างเพียงพอและตรงกับความต้องการ บริการครอบคลุม: ผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์จะให้การดูแลที่ครอบคลุมและหลากหลาย ไม่เพียงแต่การให้การดูแล แต่รวมถึงการทำกายภาพบำบัด การทำแผล และหัตถการต่างๆ คลายความเหงา: ผู้ดูแลสามารถช่วยคลายความรู้สึกโดดเดี่ยวและความเหงาได้ และยังทำให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่เพียงลำพัง หรืออาศัยอยู่ห่างไกลจากครอบครัว นอกจากนี้ ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของบริการพยาบาลดูแลผู้ป่วยที่บ้าน คือเป็นการแบ่งเบาภาระให้ครอบครัวได้เว้นว่างจากการให้การดูแล ช่วยคลายความเครียด และป้องกันการเกิดของภาวะหมดไฟในการดูแลได้ (Caregive Burnout) […]

9 ประโยชน์ของการใช้บริการพยาบาลดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามบ้าน

รับดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน-ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน-ลลิสา-โฮมแคร์

ประโยชน์ของการใช้บริการพยาบาลดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน ในยุคปัจจุบัน การดูแลสุขภาพของครอบครัวกลับมาเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับครอบครัวที่มีคนไข้หรือผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังหรือปัญหาสุขภาพต่างๆ อยู่ด้วยภายในบ้าน การใช้บริการพยาบาลดูแลที่บ้าน (home care nursing service) จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้คนสูงอายุสามารถรับการดูแลตัวเองได้ ในขณะที่พักอาศัยอยู่ที่บ้านของตนเองเป็นอย่างดี แต่ยังเสริมสร้างความสุขและแบ่งเบาภาระการดูแลให้กับคนครอบครัวด้วย ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง ที่คุณควรรู้จากการใช้บริการพยาบาลดูแลที่บ้าน 9 ประโยชน์ของการใช้บริการพยาบาลดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามบ้าน ลดความเสี่ยงของผู้สูงอายุ การใช้บริการพยาบาลดูแลที่บ้านช่วยให้คนไข้และครอบครัวไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากสถานพยาบาล หากคนไข้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง การใช้บริการพยาบาลที่บ้านจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ การดูแลที่เป็นส่วนตัวและเป้าหมายของแผนการดูแลที่ชัดเจน บริการพยาบาลดูแลที่บ้านเน้นให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเป็นส่วนตัว พยาบาลสามารถดูแลคนไข้ตามความต้องการและความสามารถของแต่ละบุคคลทำให้เป้าหมายการรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้คนไข้ในการรักษาตัวเองและทำให้ครอบครัวรู้สึกสบายใจในการดูแลคนไข้ด้วย  การส่งเสริมความสามารถในการดูแลตัวเองของผู้สูงอายุ บริการพยาบาลดูแลที่บ้านไม่เพียงแต่ช่วยให้คนไข้ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี แต่ยังสอนผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยและคนครอบครัวเรื่องการดูแลตัวเองและป้องกันโรคต่างๆ ด้วย ทำให้คนไข้สามารถดูแลตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความจำเป็นในการพึ่งพาคนอื่นและเสริมสร้างความรู้สึกที่มีคุณค่าในตัวเอง เช่นกัน ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว การใช้บริการพยาบาลดูแลที่บ้านช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้และครอบครัวทำให้การดูแลคนไข้เป็นไปอย่างมีความสุข ลดความเครียดในการดูแลและทำให้คนไข้รู้สึกรักษาตัวเองดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ครอบครัวมีเวลาสำหรับกิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถทำด้วยกัน ควบคุมคุณภาพการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ พยาบาลดูแลที่บ้านจะต้องผ่านการอบรมและมีใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพ ทำให้มั่นใจได้ว่าคุณภาพการดูแลคนไข้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ บริการพยาบาลดูแลที่บ้านยังมีการติดตามและประเมินผลการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าการดูแลที่ดีที่สุดจะถือคติไปในการดูแลคนไข้ สนใจรายละเอียดบริการเพิ่มเติม เพิ่มเป็นเพื่อนเลย! ความยืดหยุ่นในการดูแล การใช้บริการพยาบาลดูแลที่บ้านมีความยืดหยุ่นในการจัดตารางเวลาและการดูแลตามความต้องการของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการมาดูแลแบบไป-กลับหรือเป็นการดูแลแบบรายสัปดาห์หรือรายเดือน การดูแลนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของคนไข้หรือความสะดวกของคนในครอบครับว ทำให้การดูแลสามารถทำให้คนในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในการดูแลรู้สึกสะดวกสบายมากขึ้น ปรับปรุงคุณภาพชีวิต การใช้บริการพยาบาลดูแลที่บ้านช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัว […]

อาการเตือนภัยที่ผู้สูงอายุหรือคนในครอบครัวไม่ควรละเลย

อาการเตือนภัยที่ผู้สูงอายุหรือคนในครอบครัวไม่ควรละเลย มันอาจเป็นเรื่องง่ายที่จะเพิกเฉยต่ออาการผิดปกติหรืออ้างว่าเป็นเพราะอายุที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคุณไม่ควรที่จะถูกละเลยอาการใหม่ๆหรือสัญญาณผิดปกติของร่างกาย ที่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากขึ้น ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะไปตรวจหาสาเหตุถ้าหากคุณพบอาการฉับพลันหรือมีอาการผิดปกติ คุณควรทำการนัดหมายแพทย์ของคุณเพื่อรับการวินิจฉัยสาเหตุ หากคุณค้นพบเงื่อนไขทางสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ อาจจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังหรือปัญหาอื่นๆได้ในอนาคต วันนี้เรารวบรวมความรู้ผ่านบทความนี้เพื่อผู้สูงอายุและคนในครอบครัวควรรู้เกี่ยวกับอาการเฉพาะทางที่ควรได้รับการตรวจสอบวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สนใจรายละเอียดบริการเพิ่มเติม เพิ่มเป็นเพื่อนเลย! การหายใจติดขัด ในบางกรณีการหายใจลำบากอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคหัวใจขาดเลือดหรือการอุดตันของหลอดเลือดแดงโดยสมบูรณ์หรืออุดตันเพียงบางส่วนซึ่งทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ซึ่งการอุดตันของหลอดเลือดทั้งสองแบบสามารถก่อให้เกิดหัวใจวายในภายหลังได้คุณไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการเหล่านี้แค่เพียงเพราะว่าคุณไม่รู้สึกเจ็บหน้าอก ความรู้สึกเจ็บหน้าอกเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆอาการของโรคหัวใจวาย ซึ่งแต่ละคนจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปคุณควรทำการพบแพทย์หากคุณมีอาการหายใจติดขัดเรื้อรังหรือหายใจติดขัดผิดปกติ ถ้าหากคุณมีอาการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้คุณควรขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจากทีมแพทย์ จุกแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หายใจสั้น หอบ วิงเวียนศีรษะ ความผิดปกติทางการพูดหรือความผิดปกติของระบบประสาทในการทรงตัวและเคลื่อนไหว อาการของโรคหลอดเลือดสมองอาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ แต่คุณไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการเหล่านี้ ซึ่งอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ความผิดปกติในการเดินหรือสูญเสียการทรงตัวเฉียบพลัน, ความผิดปกติของระบบการทำงานของประสาท และ อาการอื่นๆเพิ่มเติมได้แก่: รู้สึกวิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาทางการพูด มีการพูดติดขัด หรือ พูดไม่ออก การเปลี่ยนแปลงของวิสัยทัศน์และการมองเห็น มีอาการอ่อนแรงหรือรู้สึกชาตามบริเวณ ใบหน้า, แขน และ ขา ถ้าหากคุณพบอาการเหล่านี้จากคนที่คุณรัก คุณควรที่ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วนเพื่อที่จะจำกัดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาได้ การมีเลือดออกทางช่องคลอดหลังจากวัยหมดประจำเดือน การมีเลือกออกทางช่องคลอดหลังจากวัยหมดประจำเดือนนั้นเป็นสิ่งผิดปกติ แต่ในบางกรณีมันอาจไม่ได้เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไรที่ร้ายแรง เช่น การมีเพศสัมพันธ์อาจเป็นสาเหตุของการทำให้เลือดออกที่ไม่ได้ร้ายแรงแต่อย่างไรก็ตามถ้าหากคุณหรือคนที่คุณรักมีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดหรือเกิดขึ้นซ้ำๆ การพบแพทย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณควรตระหนักถึง เนื่องจากการตกเลือดหลังวัยหมดประจำเดือนอาจเป็นอาการของโรคมะเร็งทางสูตินรีเวชบางชนิดก็เป็นได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่คุณควรพาคนที่คุณรักไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป  การมีเลือดออกทางช่องคลอดหลังจากวัยหมดประจำเดือน การมีเลือกออกทางช่องคลอดหลังจากวัยหมดประจำเดือนนั้นเป็นสิ่งผิดปกติ แต่ในบางกรณีมันอาจไม่ได้เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไรที่ร้ายแรง […]

10 เคล็ดลับ สูงวัยอย่างมีสุขภาวะ

10 เคล็ดลับ สูงวัยอย่างมีสุขภาวะ เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ เป็นธรรมดาที่เราจะพบกับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ความเสื่อมโทรมของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ และสภาวะอารมณ์ ซึ่งอาจทำให้หลายคนมีความกังวลใจเมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การเตรียมตัวให้พร้อมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เราสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยความเข้าใจ เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตบั้นปลายได้อย่างมีความสุข การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ กระดูก เมื่ออายุมากขึ้นความหนาแน่นของเนื้อกระดูกจะลดลง ส่งผลให้กระดูกเปราะบาง เสื่อม และแตกหักง่าย กระดูกสันหลังจะโก่งค่อม ทำให้ความสูงลดลง โดยส่วนใหญ่แล้วโรคกระดูกพรุนจะพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ หากผู้สูงวัยรู้สึกเจ็บปวดมากเมื่อขยับร่างกาย จนส่งผลให้การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างยากลำบาก ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและดูอาการก่อนจะสายเกินไป หัวใจ ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว เนื่องจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อมีการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้อย่างเพียงพอ ก็จะนำไปสู่อาการหัวใจวายเฉียบพลันได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง การพบแพทย์และตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีจะช่วยให้เราเห็นสัญญาณเตือนและป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างทันท่วงที สมอง เมื่ออายุมากขึ้นสมองของเราจะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง ทำให้ไม่สามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ความสามารถในการตอบสนองหรือการจดจำเรื่องราวต่างๆ ลดลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตหรือเพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน แม้ว่าอาการหลงลืมตามวัยจะเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้สูงอายุแต่หากพบกว่าอาการเหล่านี้เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น เกิดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ มีอาการสับสน ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆ หรือมีอารมณ์แปรปรวน จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุและคนรอบข้างควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที […]

ข้อแนะนำเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

ข้อแนะนำเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ข้อแนะนำเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ข้อแนะนำเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ข้อแนะนำเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โรคสมองเสื่อม (Dementia) ไม่ได้เป็นเพียงการสูญเสียความทรงจำหรืออาการหลงลืมเท่านั้น แต่คือความเสื่อมประสิทธิภาพของสมองที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนการใช้เหตุผลและการสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคนรอบข้างที่ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิ จากสถิติที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นกว่า 100,000 รายต่อปี และคาดว่าตัวเลขผู้ป่วยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,177,000 คนในปี 2573 ซึ่งหมายความว่าจะมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ต้องการการช่วยเหลือดูแลจากญาติและคนในครอบครัว เพื่อให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดแม้จะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม  บทความนี้ได้นำเสนอแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่ผู้ดูแลสามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยและรับมือกับปัญหาเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีรับมือกับการสื่อสาร อาการสับสน หลงลืมเหตุการณ์ต่างๆ และจดจำคนรอบข้างไม่ได้ เป็นอาการผิดปกติที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกว่าตนเองบกพร่องและสูญเสียความมั่นใจในตนเอง ทำให้ไม่อยากพบปะผู้คนอื่นๆ การสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยได้ ข้อแนะนำ ■ ระหว่างบทสนทนากับผู้ป่วย ควรให้ผู้ป่วยพยายามพูดด้วยตัวเอง ไม่ควรพูดแทรก ■ ลดเสียงรบกวนให้มากที่สุด ■ สบตากับผู้ป่วยเมื่อพูดคุยกัน ให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าเรากำลังรับฟัง ■ ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักมีพฤติกรรมพูดซ้ำๆ หรือถามคำถามเดิม เพราะอาจจำไม่ได้ว่าเคยถามไปแล้ว ผู้ดูแลควรพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างใจเย็น ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล ไม่แสดงอาการหงุดหงิดรำคาญ ■ เมื่อต้องพูดคุยกับผู้ป่วย ผู้ดูแลไม่ควรอยู่ใกล้กับผู้ป่วยมากเกินไปเพราะจะทำให้ผู้ป่วยอึดอัด ควรอยู่ในระยะที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นการแสดงออกทางใบหน้าและท่าทางได้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ง่ายขึ้น ■ไม่ควรถามคำถามที่ซับซ้อนและหลีกเลี่ยงการอธิบายที่ยืดยาวเพราะจะทำให้ผู้ป่วยสับสนหรือหงุดหงิดได้  ควรเลือกใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และใช้ท่าทางประกอบ […]